ในการลงประกาศตำแหน่งงานบนหน้าเว็บไซต์ นอกจากที่จะต้องเลือกฐานข้อมูลผู้สมัครที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการ มีโครงสร้างการให้ข้อมูลที่เข้าใจง่ายและดึงดูดน่าสนใจ รวมถึงมีวิธีการเข้าถึงฐานผู้สมัครที่มีประสิทธิภาพแล้ว อีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้ใช้เว็บไซต์หางานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกประการหนึ่งก็คือรายละเอียดของหน้าประกาศตำแหน่งงานนั้นๆ
สำหรับเว็บไซต์ Jobtopgun ปกติแล้วจะมีเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ feedback เรซูเม่ของลูกค้าแต่ละบริษัท ซึ่งจะคอยดูแลแนะนำการจัดทำหน้าประกาศงาน รวมไปถึงการกำหนด criteria สำหรับระบบ Job Match เพื่อช่วยให้บริษัทได้รับเรซูเม่ที่ตรงและมีจำนวนเพียงพอกับความต้องการ
ทั้งนี้ คุณศิวพรได้สรุปประเด็นปัญหาที่พบบ่อย พร้อมทางแก้ปัญหาเรซูเม่น้อยไว้อย่างคร่าวๆ ในงานสัมมนา การคัดคนด้วยวิทยาการสมัยใหม่ ครั้งที่ 7 ไว้ทั้งหมด 4 ประเด็น
|
1. criteria ในการจับคู่ตำแหน่งงานในระบบ Job Match ไม่ตรง |
“ตรงนี้เป็นปัจจัยหลักเลยค่ะ เพราะในจำนวนคน 8 แสนบนฐานระบบของเราเนี่ย ถ้าหากคุณใส่ข้อกำหนดคลาดเคลื่อนไปแค่ตัวเดียว อาจจะทำให้เรซูเม่หลุดหายไปเป็นหลักหมื่นได้เลย ซึ่งถือเป็นจำนวนที่เยอะมาก
“ในหน้าประกาศงาน จะมีหัวข้อ basic qualification อยู่ ข้อมูลตรงนี้ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของ code จะถูกนำไปจับคู่กับข้อมูลของผู้สมัครที่อยู่บนฐานระบบของเรา เพราะฉะนั้นถ้าใส่ข้อมูลที่ผิด หรือทางลูกค้าคุยกับเจ้าหน้าที่ของเราไม่เคลียร์ แล้วใส่ข้อมูลที่ไม่ตรงไป จำนวนผู้สมัครบนฐานระบบที่จะได้รับอีเมลแจ้งตำแหน่งงานนี้ก็จะคลาดเคลื่อนทันที
|
 |
“ตัวอย่าง เช่นในกลุ่มสายงาน architect ก็จะแบ่งออกเป็นสายย่อยๆ แยกออกไปอีกเยอะ ซึ่งถ้าคุณต้องการคนที่มีความสามารถในด้านสถาปนิกแบบกว้างๆ ทางเจ้าหน้าที่ก็จะเลือกให้กว้างที่สุด เพื่อให้คุณได้คนมากที่สุด แล้วมาเลือกอีกที
แต่ถ้าคุณต้องการสถาปนิกที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่นอาจจะต้องการคนที่ทำ interior อย่างเดียว ทางเจ้าหน้าที่ก็จะเลือกตัวเลือกที่เป็น interior ตัวเดียว เพื่อให้คุณได้คน แม้จะปริมาณไม่มาก แต่ตรงแน่นอน
“ฉะนั้นทุกครั้งที่ HR มาลงประกาศงานกับทางเรา จึงต้องมีการพูดคุยทำความเข้าใจกับทางเจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษาของเรา โดยต้องให้ข้อมูลกับทางเรามากที่สุด เพื่อที่จะได้ทำความเข้าใจว่า คุณต้องการคนแบบใดจริงๆ และจะได้กำหนดเงื่อนไขได้ใกล้เคียงหรือตรงมากที่สุด”
|
2. ชื่อตำแหน่งที่ลงประกาศไม่ชัดเจน |
“บางครั้งถ้ากลับเข้าไปดู พบว่าเลือก criteria ในการส่ง Job Match ถูกต้องหมดแล้ว ส่งอีเมลไปถึงกลุ่มเป้าหมายแน่นอน แต่ feedback ยังไม่ดีอยู่ ตรงนี้ก็ต้องกลับมาดูที่ตัวข้อมูลในหน้าประกาศงานอีกครั้ง ว่ามีผิดพลาดที่จุดไหนหรือเปล่า
“ก็จะมีกรณีที่ชื่อตำแหน่งที่ลงประกาศนั้นไม่ชัดเจน ทำให้กลุ่มเป้าหมายไม่กล้าสมัคร ตัวอย่างเช่นตำแหน่งนี้ ลงไว้ว่า marketing officer (graphic designer) ซึ่งทางผู้สมัครเองก็ไม่กล้าสมัคร เพราะไม่แน่ใจว่าตกลงเป็นตำแหน่งการตลาดหรือว่าเป็นกราฟฟิกดีไซน์กันแน่ |
 |
“กรณีนี้ จากการตรวจสอบกับทางลูกค้า ปรากฏว่าเป็นตำแหน่งการตลาดจริงๆ เพียงแต่อยากให้มีความรู้สามารถทำด้าน graphic ได้นิดหน่อย แต่การเอามาใส่ไว้ที่ชื่อตำแหน่งทำให้เกิดการสับสน คนที่ทำงานด้านการตลาดมาไม่กล้าสมัคร เพราะ graphic design ก็ไม่ได้เป็นอาชีพเขา ส่วนคนที่ทำ graphic มาก็ไม่กล้าส่ง เพราะทำการตลาดไม่เป็น จุดนี้จึงเป็นจุดหนึ่งที่ต้องระวัง
“ตรงนี้ ถ้าหากมีการปรึกษากับทางเจ้าหน้าที่ของเรา ก็จะแนะนำให้เปลี่ยนชื่อให้ชัดเจนไปเลย และไปเพิ่มรายละเอียดข้อกำหนดเอาในตัวหน้าประกาศงานด้านใน เช่นตำแหน่งนี้ก็เปลี่ยนเป็น marketing officer และเพิ่มข้อความไว้ในหน้าประกาศงาน ว่าต้องมีความรู้ด้าน graphic design มาด้วย ก็จะช่วยแก้ปัญหาให้มีจำนวนเรซูเม่เพิ่มมากขึ้นได้ค่ะ”
|
3. ปัญหาทางด้าน branding ของบริษัท |
“ปัญหาอีกจุดก็คือการทำ branding ของบริษัท ซึ่งถือว่าสำคัญนะคะ เพราะการลงประกาศรับสมัครงานในแต่ละครั้ง คุณจะต้องโดนเปรียบเทียบกับบริษัทอื่นๆ ที่หลากหลายมาก บางทีเป็นพันหรือหลายพันนะคะ ตำแหน่งงานตำแหน่งเดียว เช่น marketing ที่เราประกาศรับสมัคร อาจจะมีอีก 100 หรือ 200 บริษัทที่ก็ประกาศรับอยู่เหมือนกัน |
 |
“เพราะฉะนั้น เรื่องการทำ branding หรือการเสริมภาพลักษณ์องค์กร จะต้องทำให้โดดเด่นกว่าคนอื่น คือไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นบริษัทใหญ่จึงจะดูดีได้ จริงๆ แล้วบริษัทเล็กๆ ก็สามารถเลือกที่จะทำให้ดูโดดเด่นได้ด้วยการให้ข้อมูลหลายๆ ส่วน”
|
4. ไม่สามารถตอบคำถามผู้สมัครได้ว่าทำไมถึงต้องสมัครตำแหน่งงานนี้ |
“ข้อสุดท้ายก็คือ หน้าประกาศตำแหน่งงานไม่สามารถตอบคำถามได้ว่าทำไมผู้สมัครจึงต้องสมัครตำแหน่งที่คุณประกาศอยู่ ซึ่งเป็นเพราะข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่งงานที่ให้ไว้ไม่ชัดเจน ว่ามันน่าสนใจ น่าเข้าไปทำอย่างไร
“จริงๆ แล้วข้อมูลส่วนนี้เป็นจุดขายที่ HR ต้องเพิ่มให้กับตำแหน่งนั้น โดยต้องเลือกเอาจุดเด่นหรือข้อแตกต่างของตำแหน่งงานในบริษัทคุณกับบริษัทอื่นๆ มานำเสนอให้ละเอียดและน่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติผู้สมัครที่ต้องการ หรือขอบข่ายความรับผิดชอบของงานนั้นๆ
“อย่างเช่นบางที่ ลงประกาศหาตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ เงินเดือนน่าจะเป็นแสน แต่กลับให้ข้อมูล qualification แค่นิดเดียว ซึ่งอาจจะทำให้คนที่คุณสมบัติผ่านไม่กล้าสมัครเข้ามาก็ได้ |
 |
“หรืออีกบริษัท ลงประกาศหาตำแหน่ง accountant แต่ให้รายละเอียดความรับผิดชอบของตำแหน่งงานมาแค่ 3 ข้อ ในขณะที่อีกบริษัท ตำแหน่งเดียวกัน เขาให้รายละเอียดมาทุกอย่าง บางที่มีบอกให้เลยด้วยซ้ำ ว่าบริษัทเขาดีกว่าบริษัทอื่นอย่างไร เมื่อผู้สมัครอ่านหน้าประกาศงานก็มีโอกาสที่จะสมัครกับบริษัทหลังมากกว่า”
“เราเสียเงินค่าลงประกาศงานไปแล้วเนี่ย ก็หวังว่าจะได้ผู้สมัครที่ดีที่สุด ตรงที่สุดเข้ามาหาเรา” คุณศิวพรกล่าวสรุปทิ้งท้าย “เพราะฉะนั้นก็อยู่ที่ทาง HR ด้วย ว่าจะมีการเตรียมข้อมูลอย่างไร และพูดคุยปรึกษากับทางเจ้าหน้าที่มากแค่ไหน
“และทั้งหมดนี้ก็เป็นทั้งหมดที่เกี่ยวกับการใช้ job website ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งถ้ารู้จักใช้ให้ถูกแล้ว ก็จะได้รับ feedback กลับมามหาศาลเหมือนกันค่ะ”
|
คุณศิวพร ชนาเทพาพร ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Business Development Manager
เป็นผู้ร่วมก่อตั้งเว็บไซต์ www.jobtopgun.com และ www.superresume.com |
อ่านบทความย้อนหลัง คลิกที่นี่ |