การรับเลือกบุคคลเข้าทำงาน นอกจากจะคัดกรองจากความรู้และทักษะในการทำงานแล้ว ปัจจุบันสิ่งที่เริ่มได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ ก็คือการคัดคนโดยดูจาก hidden competencies หรือความสามารถซ่อนเร้น เพราะนอกจากบริษัทจะต้องการคนที่มีทักษะความสามารถเหมาะกับตำแหน่งงานนั้นๆ แล้ว ยังต้องการคนที่มีลักษณะ บุคคลิก และทัศนคติในการทำงานเหมาะสมกับตำแหน่งงานและวัฒนธรรมขององค์กรนั้นๆ ด้วย
คุณวิเชียร ผู้ได้คลุกคลีอยู่ในวงการบริหารจัดการทรัพยากรบุคคลมามากกว่า 30 ปี เน้นให้เห็นความสำคัญของการศึกษาความสามารถซ่อนเร้นของผู้สมัครโดยผ่านทางการอ่านข้อมูลกีฬาและงานอดิเรก
“กีฬาและงานอดิเรกที่คุณเลือกเล่นจะบ่งบอกตัวตนคุณทั้งหมด ทั้งความสามารถ ทัศนคติ บุคคลิก และรสนิยม” คุณวิเชียรกล่าว “นั่นเป็นเพราะไม่มีใครเข้าไปบังคับ คุณเลือกเล่นกีฬาหรือทำงานอดิเรกเพราะคุณ enjoy เพราะคุณเล่นแล้วสนุก ฉะนั้นตัวตนทุกอย่างของคุณมันจะสะท้อนออกมาตรงๆ ไม่มีการปรุงแต่ง
“เมื่อก่อน ข้อมูลส่วนนี้อาจจะเคยถูกมองข้ามในสายงานทรัพยากรมนุษย์ ถูกมองว่าเป็นแค่ข้อมูลส่วนเสริม หรืออาจจะไม่มีความสำคัญในขั้นตอนการคัดเลือกคนเลยด้วยซ้ำ แต่ตอนนี้เราอาจจะต้องลองปรับความคิดกันใหม่ ให้ความสำคัญกับเรื่องกีฬาและงานอดิเรกกันมากขึ้น เพราะตัวนี้แหละ ที่จะช่วยบอกเราได้ ว่าผู้สมัครคนนี้เหมาะกับวัฒนธรรมองค์กรเราหรือเปล่า”
การอ่านความสามารถซ่อนเร้น รวมถึงบุคลิกลักษณะต่างๆ จากกีฬาและงานอดิเรกของผู้สมัครนั้น อาจดูเป็นเรื่องธรรมดาที่ทราบกันมานานแล้ว แต่ในความเป็นจริง ยังไม่เคยมีใครนำความรู้ใหม่นี้มาศึกษาและประมวลผลออกมาให้มีความเป็นวิทยาศาสตร์ จนสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการคัดคนเข้าทำงานได้
|
|
ตั้งแต่ปี 2550 เป็นต้นมา Super Resume ได้ทำการศึกษาวิจัยองค์ความรู้ดังกล่าวอย่างเป็นทางการ โดยส่งแบบสอบถามในหัวข้อ “กีฬาและงานอดิเรกช่วยพัฒนาคุณในด้านใดบ้าง” ครั้งที่ 1 และครั้งที่ 2 ออกไปให้สมาชิกกว่า 3 แสนคน1 ที่มีข้อมูลกีฬาและงานอดิเรกใน Super Resume เพื่อสอบถามว่ากีฬาหรืองานอดิเรกที่เขาเลือกเล่นอยู่นั้น ช่วยพัฒนาความสามารถหรือบุคลิกด้านอื่นอย่างไรบ้าง เช่น สำหรับคนที่เล่นกอล์ฟ ก็จะได้รับแบบสอบถามเกี่ยวกับกีฬากอล์ฟ หรือคนที่ว่ายน้ำ ก็จะได้รับเกี่ยวกับการว่ายน้ำ เป็นต้น
จากการสรุปผลแบบสอบถาม ทำให้ได้เห็นว่า กีฬาและงานอดิเรกทุกชนิด ต่างก็ช่วยฝึกฝนคนในด้านต่างๆ ขึ้นอยู่กับมุมมองของผู้เรียนรู้ว่าจะเลือกด้านใดบ้าง โดยคุณวิเชียรได้ยกตัวอย่างผลสำรวจให้เห็นในงานสัมมนา การคัดคนด้วยวิทยาการสมัยใหม่ ครั้งที่ 7
“ลองยกตัวอย่างเป็นแบดมินตันนะครับ จากคนที่เล่นแบดมินตันทั้งหมด 100 คนเนี่ย มีอยู่ 60 คนที่บอกว่ากีฬานี้ช่วยฝึกให้เขากล้าตัดสินใจ ซึ่งเขาให้เหตุผลไว้ว่า เล่นแบดมินตันต้องตัดสินใจในการรับลูก ตีลูก บางคนบอกว่าจะต้องตัดสินใจเด็ดเดี่ยวว่าจะตั้งรับหรือจะเล่นรุก หรือแม้แต่เลือกทิศทางและน้ำหนักในการตี อันนี้เป็นตัวเลือกอันดับแรก
“อันดับรองลงมาที่คนเล่นแบดมินตันเลือก คือเก่งในการวางแผน เหตุผลเพราะต้องมีการวางแผนในการเสิร์ฟลูกรับลูก วางแผนแก้เกมเฉพาะหน้าอย่างรวดเร็ว ซึ่งอันนี้มีคนเลือกมาถึง 36 คน”
นอกจากนี้ ผลการวิจัยของกีฬาและงานอดิเรกชนิดอื่นๆ ก็ได้ถูกรวบรวมไว้ และสรุปออกมาเป็นตัวเลขเชิงสถิติ มีความเป็นวิทยาศาสตร์ สามารถนำไปใช้ในการอ้างอิงหรืออ่านผู้สมัครจากเรซูเม่ เพื่อกรองให้ได้คนที่เหมาะสมกับบริษัทมากที่สุด แต่ทั้งนี้ คุณวิเชียรได้เน้นย้ำให้เห็นว่า การอ่านคนจากองค์ความรู้นี้ อาจไม่ได้เป็นการตัดสินตัวตนผู้สมัครทั้งหมด หากแต่เป็นการเพิ่มแนวทางในการอ่านคนให้แม่นขึ้น
“เราอาจจะไม่ได้พิพากษาผู้สมัครจากกีฬาและงานอดิเรกขนาดนั้น” คุณวิเชียรกล่าวย้ำ “แต่อย่างน้อยเราก็มีแนวทางในการตั้งคำถามผู้สมัครในตอนสัมภาษณ์มากขึ้น เพราะได้เห็นทิศทางว่าผู้สมัครคนนี้น่าจะเป็นอย่างไรมาก่อนแล้วขั้นหนึ่ง เช่น คนนี้เล่นแต่กีฬาประเภทเดี่ยวแค่อย่างเดียว ไม่ว่าจะวิ่ง ฟิตเนส หรือว่ายน้ำ ไม่มีกีฬาที่เล่นเป็นทีมเลย HR ก็อาจจะตั้งคำถามที่จะเช็คตอนสัมภาษณ์อีกที ว่าเขามีทีมเวิร์คไหม เขาจะทำงานร่วมกับคนอื่นเป็นทีมได้ไหม |
องค์ความรู้ส่วนนี้เป็นอะไรที่ลึกมากกว่าที่คุณเห็น กลุ่มข้อมูลชุดพื้นฐานอย่างตัวกีฬาและงานอดิเรกเหล่านี้ จะช่วยให้ lead time ในการคัดคนดีขึ้น ได้คนเร็วขึ้น และก็ได้คนที่ตรงมากขึ้นด้วย” |
1จากการส่งแบบสอบถามทั้งหมดรวม 2 ครั้ง คือช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายน 2550 และช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2552 |
|
|
คุณวิเชียร ชนาเทพาพร เป็นผู้ก่อตั้งและผู้บริหารเว็บไซต์หางาน jobtopgun.com และ superresume.com |
|